Popular Posts

Wednesday, February 27, 2013

CPU Intel Ivy Bridge เพิ่มอะไร


CPU Intel Ivy Bridge เพิ่มอะไร
 
CPU Intel Ivy Bridge ซึ่งถ้าถามว่าทำไมถึงไม่ถอดด้ามหละ? ผมก็จะขอเล่าให้ฟังกันก่อนเลยครับว่าตัว Intel Ivy Bridge นั้นยังคงใช้ layout structure ข้างใน CPU เฉกเช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้านี้ซึ่งก็คือ Sandy Bridge โดยยังคงใช้วิธีการวาง Core ของ CPU เรียงกันไปเป็นแนวนอนติดต่อกัน และมี cache L2 แยกจากกันแบบอิสระ ส่วนตัว L3 นั้นยังคงแชร์ทรัพยากรร่วมกันในทุกๆ Core รวมไปถึงการผนวกเอาชิปกราฟฟิก Intel HDXXXX มาเป็นส่วนเสริมให้กับ CPU ทุกตัวตั้งแต่รุ่นเล็กยันรุ่นใหญ่อีกด้วย

Ivy Bridge รุ่นต่างๆจะทยอยวางขายไล่ตั้งแต่ตัวเทพ Core-i7 และปิดท้ายด้วยน้องเล็ก Core-i3

โครงสร้างของ Transistor แบบใหม่ ประหยัดไฟกว่าเห็นๆ!!
แน่นอนว่าเมื่อมีการเปลี่ยนรุ่นแล้วมันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง และสิ่งที่เป็นตัวชูโรงของรุ่น Ivy Bridge นั้นก็คือการลดขนาดการผลิตตัว Transistor ที่จากเดิมใน Sandy Bridge นั้นมีขนาด 32nm(นาโนเมตร) แต่ในตัว Ivy Bridge นั้นจะปรับให้เล็กลงเหลือเพียง 22nm รวมไปถึงยังมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเล็กๆแต่ว่าเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก โดยการยกเครื่องโครงสร้างของตัว Transistor ให้กลายเป็นแบบ 3D Tri-gate Transistor ซึ่งจากเดิมใช้ Transistor เป็นแบบ 2D เท่านั้น(เดี๋ยวนี้อะไรๆก็ต้อง 3D O_o!!) โดยทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราการบริโภคพลังงานซึ่งจะลดลงเป็นอย่างมาก ส่วนความแรงนั้นอาจจะเพิ่มขึ้นกว่ารุ่นเดิมเล็กน้อยจากการที่เพิ่มจำนวนของตัว Transistor เข้าไปให้มากกว่า Sandy Bridge

รูปโครงสร้างของ Transistor แบบใหม่ที่เรียกว่า 3D Tri-gate Transistor

แรงกว่าเดิมกับชิปกราฟฟิก Intel HD4000
และอีกส่วนที่สำคัญสำหรับ Intel แต่อาจจะไม่ได้สำคัญสำหรับผู้ใช้ระดับกลางขึ้นไปนั่นก็คือกราฟฟิกชิปบนตัว CPU ซึ่งมาพร้อมกับ Series ใหม่ถอดด้าม(อันนี้ต้องเรียกถอดด้ามเพราะว่ามันแรงขึ้นอีกบานเลย) โดยทาง Intel ตั้งชื่อรหัสว่า Intel HD4000 โดยชูจุดเด่นก็คือการรองรับกราฟฟิกระดับ DirectX 11 และ OpenCL 1.1 รวมไปถึงยังรองรับจอภาพที่มาพร้อมความละเอียดสูงถึงประมาณ 4000 พิกเซลในแนวกว้างด้วยอัตราส่วน 16:10 และยังสามารถแสดงผลภาพพร้อมกันได้ถึง 3 หน้าจออีกด้วย แต่ไม่ใช่ว่าทุกรุ่นในตระกูล Ivy Bridge จะมาพร้อมกับ HD4000 นะครับ ซึ่งในส่วนของรุ่น Core-i3 เกินกว่า 90% นั้นยังใช้ชิป HD2500 อยู่เลย(แทนที่จะเอา HD4000 ใส่ไปเลยจะได้เป็นจุดขายสำหรับเครื่องราคาประหยัด
คงมีประโยชน์กับตระกูล Ultrabook ทั้งหลายมากกว่าเพราะว่า Ultrabook ไม่มีการ์ดจอแยก

เพิ่มประสิทธิภาพของ memory controller และ XMP 3.0!!
Intel นั้นได้เพิ่มฟีเจอร์ที่ไม่ได้ใหม่นัก ต้องบอกว่าหยิบของเก่ามาอัพเกรดมากกว่ากับระบบที่ชื่อว่า "XMP" หรือชื่อเต็มๆนั่นก็คือ Extreme Memory Profile อันที่จริงระบบนี้ก็เหมือนกับว่าเวลาเพื่อนๆจะซื้อ RAM มาใช้คู่กับ CPU Core-i7 ซักตัว โดยปกติแล้วขอแค่เป็น DDR3 มันก็ใช้ได้ไม่มีปัญหาอะไร หากแต่ว่าต้องการจะ Overclock หละ? เราก็ต้องเลือกเฟ้น RAM กันซักหน่อย(อันที่จริง Sandy Bridge ก็มีฟีเจอร์นี้แต่ว่าเป็น XMP เวอร์ชั่นเก่า)
ซึ่งทาง Intel ตัดปัญหาและก็ได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย(ทั้งทาง Intel , ผู้ผลิต RAM และลูกค้าตาดำๆ) โดยการสร้างระบบ XMP ขึ้นมาเพื่อบ่งบอกว่า RAM ยี่ห้อนี้ รุ่นนี้จะสามารถลาก Bus ของ RAM ไปได้ไกลเท่าไหร่ ซึ่งจะเรียกระบบนี้ว่า "Multiple SPD profiles" และถ้าหาก RAM ที่เราใช้คู่กับ CPU Ivy Bridge นั้นรองรับคุณสมบัติ XMP แล้วหละก็ เราก็จะสามารถเปิดโหมด XMP เพื่อรีดความแรงของ RAM ออกมาให้หมดทุกอณูได้เลย ซึ่งเวอร์ชั่นล่าสุดที่ออกมาพร้อมกับ Ivy Bridge นั้นคือ XMP3 แว่วๆมาว่า Support RAM ระดับ DDR3-3000 เลยทีเดียว

ใครอยากแรงทะลุโลกก็ลองตรวจสอบรุ่นของ RAM ที่รองรับ XMP ดูก่อนนะครับ

ขุมพลังจากส่วนกลาง ชิปเซ็ต Intel Series 7
แน่นอนว่าหัวใจสำคัญของ Mainboard คงหนีไม่พ้นชิปเซ็ตแน่นอน ซึ่งตัวชิปเซ็ตนี้มีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆทุกตัวที่อาศัยอยู่ใน Mainbord นั้นๆ ว่าง่ายๆคือควบคุมทุกอย่างในเครื่องยกเว้น CPU(มาเฟียดีๆนี่เอง 555+) และ ณ ตอนนี้ก็มาถึง Series 7 กันแล้วซึ่งถ้าถามว่ามันต่างจาก 6 ยังไง ผมต้องบอกว่ามันคือ minor change มากกว่าเพราะว่ามันยังคงใช้ Socket เดิมก็คือ 1155(Mainboard เก่าก็ใช้ Socket นี้ก็สามารถใช้ Ivy ได้นะครับ)
โดยที่จะเห็นได้ชัดเลยก็คือการรองรับ PCI-Express 3.0(แบบ official จาก Intel) และรองรับ RAM DDR3-1600 ซึ่งจากเดิมในรุ่น Series 6 นั้นรองรับเพียง Bus 1333MHz เท่านั้น ส่วนในรุ่นท๊อปยังมีการใส่พอร์ท Thunderbolt ที่เมื่อก่อนมีแต่บนเครื่อง Mac มาเสริมแกร่งให้กับทางฝั่ง PC อีกด้วย และในส่วนของ SATA 6 Gbps และ USB 3.0 นั้นจะมาเป็นมาตรฐานให้กับชิปเซ็ต series 7 นี้อีกด้วย ต่างจากใน series 6 ที่หลายๆค่ายนั้นใส่ชิปคอนโทรลเลอร์แถมมาให้เอง ไม่ได้ official จาก Intel แต่อย่างใด
 
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
บทความจาก http://www.tukkaeit.com/showthread.php?t=5252

No comments:

Post a Comment