Popular Posts

Wednesday, February 27, 2013

จอภาพ oled ดีกว่า lcd อย่างไร


จอภาพ oled ดีกว่า lcd อย่างไร
 
 
oled tv ก็คือ เทคโนโลยี่ รูปเเบบใหม่ที่จะมาเเทนที่ led tv ที่ตอนนี้กำลัง เริ่มทำตลาดไปบ้างเเล้วครับ จุดเด่นของ oled เนี่ย คือความบางของ ตัวจอภาพที่บางขนาดเรียกได้ว่า ยืดยุ่นได้เลยครับ ถามว่าบาง ขนาดไหน เท่าที่ รู้มานะครับ ก็ประมาณ กระดาษ a4 วางทับกันซัก 20 ใบอะครับ สำหรับ จอภาพ oled เเถมยังม้วนได้อีกต่างหาก สำหรับ บางรุ่นที่ให้โค้งงอได้หนะครับ เเถมตัวภาพยังมีความคมชัดกว่าจอ led ที่ถือได้ว่า ชัดโคตร ๆ ตอนนี้อีกครับ 

บทความเรื่องจอ oled ครับ 

      โตชิบาและมัตสึชิตะอิเล็กทริกอินดรัสเทรียล ควงแขนประกาศแผนเริ่มจำหน่ายหน้าจอโทรทัศน์โอแอลอีดี (OLED) ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยจะวางจำหน่ายในนามบริษัทร่วมทุนระหว่างทั้งสอง พุ่งเป้าเขย่าบัลลังก์ทีวีแอลซีดีและพลาสม่าทีวีที่มีมูลค่าตลาดมหาศาลกว่า 3.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1.15 ล้านล้านบาท

บริษัทร่วมทุนระหว่างโตชิบาและมัตสึชิตะนั้นใช้ชื่อว่าบริษัท โตชิบามัตสึชิตะดิสเพลย์เทคโนโลยี (Toshiba Matsushita Display Technology) สัดส่วนการถือหุ้นคือโตชิบา 60 เปอร์เซ็นต์และมัตสึชิตะ 40 เปอร์เซ็นต์ โดยประชาสัมพันธ์ของบริษัทให้ข้อมูลว่า การเริ่มต้นทำตลาดผลิตภัณฑ์ทีวีโอแอลอีดีจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่าง

กองทัพจอทีวีโอแอลอีดีรุ่นต้นแบบที่โซนี่นำมาแสดงในงาน CES 2007 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ล่าสุดบริษัทร่วมทุนระหว่างโตชิบาและมัตสึชิตะประกาศจะส่งผลิตภัณฑ์ทีวีโอแอลอีดีออกวางจำหน่ายในปี 2009

จุดเด่นของหน้าจอเทคโนโลยีโอแอลอีดี (organic light emitting diode) คือ การพัฒนาให้หน้าจอมีขนาดเล็กและบางเบา ความสามารถในการประหยัดพลังงาน และความสามารถในการแสดงผลที่เยี่ยมยอด
โอแอลอีดีนั้นทำงานบนฟิล์มขนาดนาโนเมตรทำให้สามารถลดขนาดลงเทียบเท่าระดับเส้นผม สามารถพัฒนาเป็นอุปกรณ์โค้งงอได้ ในขณะที่จอซีอาร์ที (CRT) แบบเก่านั้นต้องการพื้นที่ด้านหลังที่เพิ่มขึ้นตามขนาดของหน้าจอ ส่วนหน้าจอพลาสมา (Plasma) นั้นไม่สามารถทำให้บางได้เนื่องจากต้องมีช่องบรรจุก๊าซเฉื่อยเพื่อสร้างพลาสมา 

ในแง่ของหลักการทำงาน โอแอลอีดีอาศัยการเปล่งแสงจากตัววัสดุโดยตรงต่างจากเทคโนโลยีอื่น ซีอาร์ทีอาศัยการเรืองแสงจากลำอิเล็กตรอนที่วิ่งมาตกกระทบที่จอภาพซึ่งเคลือบสารเรืองแสงไว้ ส่วนจอพลาสมาอาศัยการเรืองแสงของสารเคลือบจากการตกกระทบของแสงอัลตร้าไวโอเล็ต (UV) ที่เกิดขึ้นจากพลาสมา ในขณะที่แอลซีดี (LCD) นั้นต้องใช้แสงจากฉากหลัง จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้จอแอลซีดีด้อยกว่าโอแอลอีดีแม้จะมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่เท่าเทียมกัน ความบางเฉียบของหน้าจอโอแอลอีดี (ขอบคุณภาพจากสำนักข่าวซีเน็ต)

จุดแตกต่างอีกจุดหนึ่งคือ โอแอลอีดีจะไม่มีปัญหาเรื่องมุมมองของภาพเหมือนเทคโนโลยีแอลซีดี ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นภาพได้ 180 องศา 

คุณสมบัติเพียบพร้อมเหล่านี้ไม่ได้มีแต่โตชิบาและมัตสึชิตะเท่านั้นที่ให้ความสนใจทำตลาดโอแอลอีดีในฐานะจอโทรทัศน์ ล่าสุดโซนี่ (Sony) ยักษ์ใหญ่สัญชาติเดียวกันก็เปิดตัวโทรทัศน์โอแอลอีดีรุ่นต้นแบบแล้ว คาดว่าในอนาคตจะมีผู้สนใจลงเล่นในตลาดนี้ตามมาอีกมากมาย 
 
บริษัทวิจัยตลาดดิสเพลย์เสิร์ช (DisplaySearch) คาดการณ์แนวโน้มโทรทัศน์คุณภาพสูงในปี 2007 ไว้ว่า ตลาดโทรทัศน์แอลซีดีจะมีมูลค่าตลาดรวมราว 2.74 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.04 แสนล้านบาท) ขณะที่ตลาดพลาสม่าทีวีจะมีมูลค่าตลาดที่ต่ำกว่าราว 7.5 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 2.47 แสนล้านบาท)
เป็นไงครับ  อยากได้กันเเล้วละซิครับ ส่วนตัวตอนนี้ผมยังเอื้อมไม่ถึงจอ led tv 3d เลย ครับ คาดว่าอีกนานกว่า พวก sony  sumsung จะเปิดตัวกันหนะครับ เพราะ ตอนนี้เล่น led tv 3 d กันสนุกเลย

No comments:

Post a Comment